วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

ค่า Pr และค่า Index


เว็บไซต์ที่มีค่า Pr สูงสุด เท่ากับ 6

และค่า Index เท่่ากับ 38,000

 

http://www.kapook.com/


เว็บไซต์กระปุก เป็นเว็บที่นิยม และรวบรวม ความบรรเทิง ความรู้ และข่าวสารต่างๆ เช่น เกมส์ ฟังเพลง ดูหนัง เพลง ดูดวง ฟุตบอล ข่าว ท่องเที่ยว กลอน และอีกมากมาย




เว็บไซต์ที่มีค่า Pr ต่ำสุด เท่ากับ 3

และค่า Index เท่่ากับ 0

 

http://www.tescolotus.com/th/

 

เว็บไซต์เทสโกโลตัส เป็นเว็บที่ไม่ค่อยมีความนิยมเท่าไรนัก เว็บที่ให้ข้อมูล เกี่ยวกับโปรโมชั่น บริการ การส่งเสริมการขาย คลับการ์ด และอีกมากมาย



วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

So Lo Mo


So Lo Mo คืออะไร?
คุณสามารถใช้โทรศัพท์สมาร์ทเพื่อการตรวจสอบใน ทุกๆที่คุณไป อาทิเช่น สนามบิน เดินทางไปช้อปปิ้งวันหยุด, สวน, บาร์, พิพิธภัณฑ์ห้องสมุดหรือร้านอาหารท้องถิ่นและแบ่งปันที่อยู่ของคุณกับเพื่อนของคุณ ด้วยบริการจาก Foursquare, Yelp, Facebook, Gowalla, Google สถานที่และอื่น ๆ userscan ได้รับส่วนลดพิเศษและข้อเสนอสำหรับความเต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับแอฟพลิเคชัน whereabouts.Mobile ของพวกเขาให้พวกเขาโพสต์ข้อความใน Facebook และ Twitter เมื่อใดก็ตามที่พวกเขาเข้าชมสถานที่และต้องการ เพื่อให้เพื่อนของพวกเขารู้เกี่ยวกับมัน
So ย่อมาจากคำว่า Social แปลกันตรง ๆ ตัวคือ สังคม แต่ไม่ใช่สังคมธรรมดา แต่มันเป็นสังคมออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันที่โด่งดังคือ Facebook , Twitter ณ วันนี้ (11 มิย. 2012) มีคนใช้งานทั่วโลกแล้วมากกว่า 2 พันล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 5 พันกว่าล้านคนทั่วโลก และใน 1 นาที มีคนโพสต์ข้อความใน Facebook มากกว่า 700,000 ข้อความ และมีคนค้นหาข้อมูลใน Google มากกว่า 700,000 ครั้ง
Lo ย่อมาจากคำว่า Location แปลว่า สถานที่ สถานที่ในที่นี้หมายถึงอะไร หมายถึง Google Map ตอนนี้หลายเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าออนไลน์ บริษัท หรือแม้แต่เว็บไซต์ส่วนตัวได้มีการใช้งาน Application ที่ชื่อว่า Google Map เข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจการเลือกซื้อสินค้าหรือทัวร์ต่าง ๆ เช่นการปักหมุดร้านค้า หรือ สถานที่ท่องเที่ยวของเจ้าของเว็บไซต์หรือทัวร์ต่าง ๆ
Mo ย่อมาจากคำว่า Mobile ในที่นี้ไม่ใช่แค่โทรศัพท์มือถือธรรมดา แต่เป็น SmartPhone , iPhone , Tablet ต่าง ๆ ที่ได้ถูกพัฒนา Application บนมือถือเพื่อรองรับการเติบโตของตลาดออนไลน์ในอนาคต ถ้าสังเกตุดีดี บนรถไฟฟ้าหรือตามสถานที่ต่าง ๆ จะมีคนใช้โทรศัพท์กันมากขึ้นแต่ไม่ใช่โทรศัพท์คุยนะค่ะ แต่เป็นในลักษณะเลื่อนหน้าจอเพื่อค้นหาข้อมูล อัพเดทสถานะหรือแม้แต่พูดคุยกับเพื่อนออนไลน์

จะเห็นได้ว่าอัตราการเติบโตบนโลกอินเทอร์เน็ตมีมากขึ้นทุกวัน ทั้งจำนวนผู้ใช้งานทั่วโลกและจำนวนผู้ที่เข้ามาใช้ Application ต่าง ๆ ผู้บริโภคมีสิทธิ์ที่จะเลือกได้มากขึ้น เพราะผู้ประกอบการรวมถึงเจ้าของบริษัทห้างร้านต่าง ๆ จะต้องพยายามทำทุกวิธีทางเพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นหน้าเว็บไซต์ของตัวเองปรากฏอยู่ในมือของผู้บริโภคให้มากที่สุด และยิ่งมากเท่าไหร่โอกาสที่จะได้เขามาเป็นลูกค้าของเราก็มากขึ้นเท่านั้น

รูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยประสบที่ความสำเร็จ


        ถ้าอยากจะให้ระบบการขายสินค้าในรูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยประสบที่ความสำเร็จนักศึกษาคิดว่าควรจะต้องประกอบด้วยปัจจัยใดบ้าง

ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจผ่านอีคอมเมิร์ซของ Thaigem.com ( www.thaigem.com )นั้นมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาได้ง่าย หากแต่มาจากการริเริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป และการเข้าใจถึงพฤติกรรมของลูกค้าอย่างแท้จริง ทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบการสั่งซื้อ การรักษาความปลอดภัย คุณภาพและการรับประกันในตัวของสินค้าและระบบการชำระเงินที่เชื่อถือได้ เมื่อมีโอกาสไปบรรยายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ E-Commerce ครั้งใดก็ตาม ดิฉันเลยยกตัวอย่างความสำเร็จของเว็บไซต์ที่ชื่อว่า Thaigem.com  ที่เป็นเช่นนี้เพราะเว็บไซต์ดังกล่าวนอกจากจะเป็นเว็บไซต์สัญชาติไทยที่ติดอันดับการขายหลายร้อยล้านแล้ว ยังเป็นเว็บไซต์ที่ขายสินค้าที่ถือได้ว่ามีอุปสรรคมากในการขายผ่านออนไลน์ นั่นคือสินค้าในหมวดของอัญมณีนั่นเอง วันนี้เลยขออนุญาตนำมาเป็นประเด็นอีกครั้งเพื่อให้ผู้ที่สนใจในเรื่องของการดำเนินธุรกิจในรูปแบบอีคอมเมิร์ซได้มีโอกาสศึกษา และพิจารณาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับสินค้าของตนเอง โดยปกติแล้วสินค้ากลุ่มที่มีการนำมาขายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลายก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของหนังสือ เพลง ภาพยนตร์ และเสื้อผ้า หากจะขายเพชรหรือพลอยในลักษณะออนไลน์แล้วแทบจะมองหาความสำเร็จได้ยากมาก ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าในการวิจัยสินค้าหมวดหมู่ที่ขายได้บนอินเทอร์เน็ตนั้นพอที่จะสรุปได้ว่าควรจะเป็นสินค้าที่มีลักษณะดังนี้คือ ผู้ใช้มีความคุ้นเคยมีการพบเห็นหรือจับต้องสินค้าในร้านค้าปกติหรือมีประสบการณ์มาก่อน (เช่นได้ยินได้ชมตัวอย่าง), หรือเป็นสินค้าที่อยู่ในรูปแบบของดิจิตอล และทั้งหมดนี้ไม่ใช่สินค้าที่มีราคาสูง เมื่อหันมาพิจารณาดูสินค้าที่วางจำหน่ายบนเว็บไซต์ของ Thaigem.com แล้ว อาจกล่าวได้ว่ามีลักษณะตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้วทั้งสิ้น การซื้อขายอัญมณีในเวลาปกติก็มีความลำบากอยู่แล้วเนื่องจากมีลักษณะเฉพาะตัว ไม่ซ้ำกันในแต่ละรายการ การที่สามารถไปสู่ความสำเร็จในระดับโลกได้จึงถือได้ว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดาและน่าที่จะเป็นกรณีศึกษาที่ดีสำหรับผู้ประกอบการายอื่นๆอีกด้วย
เมื่อพิจารณาในด้านของการออกแบบเว็บไซต์การวางระบบงานด้านการตลาดและ back office นั้น แทบจะกล่าวได้ว่าเข้าถึงความรู้สึกและความกังวลของลูกค้าที่จะเข้ามาสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ได้เป็นอย่างดี จนกลุ่มเป้าหมายแทบจะหาเหตุผลในการไม่ทดลองสั่งซื้อไม่ได้เลย ในเว็บไซต์ได้ตอบสนองต่อความกังวลของลูกค้าทุกอย่าง และสร้างระบบที่ตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างดีเยี่ยมดังนี้
1. นโยบายการคืนสินค้า (Return Policy) ถึงแม้ว่าจะมีรายละเอียดของสินค้าปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ก็ตามแต่สินค้าจำพวกอัญมณีเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณา และจับต้อง Thaigem.com ยินยอมให้ลูกค้าคืนสินค้าอย่างไม่มีเงื่อนไขได้ภายใน 30 วัน
2. การรับประกันสินค้า (Gemological Authenticity Certificate) เพื่อความมั่นใจในตัวสินค้า Thaigem.com ได้มีการออกใบรับรองสำหรับสินค้าที่ซื้อบนเว็บไซต์นี้
3. เปิดโอกาสให้ลูกค้ากำหนดราคาซื้อที่พอใจ (Make an Offer) ความจริงแล้วนี่คือรูปแบบของ Auction นั่นเอง การเปิดโอกาสให้ลูกค้าค้นหารายการสินค้าและกำหนดราคาซื้อเป็นนโยบายการตลาดที่ยอดเยี่ยม ทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นกันเอง คล้ายกับการซื้อขายปกติที่มีการโต้ตอบ และการหลีกเลี่ยงคำว่า “Auction” สร้างความรู้สึกที่ดีกว่าให้กับลูกค้าอีกด้วย
4. การจัดส่ง (Delivery) เพื่อความมั่นใจ เว็บไซต์แห่งนี้เลือกใช้บริการของ Fedex ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในมาตรฐานการให้บริการในระดับโลก และเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถติดตามสถานะของรายการสินค้าที่สั่งซื้อผ่านทางเว็บไซต์อีกด้วย
5. นโยบายการชำระเงิน (Payment Systemเพื่อความสะดวก ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตที่มีระบบความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานสูง (SSL - Secure Socket Layer) หรือผ่านตัวกลางที่เป็น Third Party อาทิเช่น Escrow.com หรือ PayPal เป็นต้น

6.
 นโยบายด้านความเป็นส่วนตัว (Privacy) มีการระบุชัดในเรื่องของมาตรฐานของความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้าเช่นเดียวกับเว็บไซต์มาตรฐานทั่วไป จะเห็นได้ว่าความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจผ่านอีคอมเมิร์ซนั้นมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาได้ง่าย หากแต่มาจากการริเริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป และการเข้าใจถึงพฤติกรรมของลูกค้าอย่างแท้จริง ทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบการสั่งซื้อ การรักษาความปลอดภัย คุณภาพและการรับประกันในตัวของสินค้าและระบบการชำระเงินที่เชื่อถือได้

สาเหตุใดที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จ เท่าที่ควร


1.    สาเหตุใดที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จ
      เท่าที่ควร




จากรายงานของ "UNCTAD" หรือ "UNITED NATIONS CONFERENCE ON TRADE AND DEVELOPMENT" ที่เป็นหน่วยงานด้านการค้า และการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ ระบุว่า ในปี 2545 มูลค่าของ "ธุรกิจพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์" หรือ "อี-คอมเมิร์ซ (e-Commerce)" ทั่วโลก มีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 88 ล้านล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 38.5 บาท/ดอลลาร์) ส่วนในปี 2549 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 494 ล้านล้านบาท 
            ส่วนประเทศไทย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ในปี 2546 ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซทั้งระบบมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 60,000,000,000 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าธุรกิจอี-คอมเมิร์ซได้สร้างมูลค่าเพิ่ม ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศต่างๆ และประเทศไทยเป็นมูลค่าที่สูงมาก อย่างไรก็ตาม ตัวเลขทางเศรษฐกิจจากธุรกิจอี-คอมเมิร์ซดังกล่าว ไม่ใช่ดัชนีชี้วัดว่า ณ วันนี้ ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจอี-คอมเมิร์ซแล้วแต่อย่างใด
จากการแถลงนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)ว่ากระทรวงไอซีทีจะส่งเสริม และให้การสนับสนุน การทำธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ หรือ อี-คอมเมิร์ซเต็มที่ เพราะเป็นบริการที่สามารถลดเวลา ลดค่าใช้จ่ายและทำให้การค้าขายมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ ซิป้า ได้จัดตั้งตลาดกลางอิเล็คทรอนิกส์ หรือ อี-มาร์เก็ตเพลส ขึ้นแล้ว โดยในระยะแรก อาจจะเปิดให้ทำธุรกรรมต่างๆ ฟรี 
คำถามที่เกิดขึ้น คือ การผลักดันอี-คอมเมิร์ซที่ว่ามา จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และไปในทิศทางใด และรูปแบบไหน เนื่องจากระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ภาครัฐมีการพูดถึงการผลักดันและพัฒนาตลาดอี-คอมเมิร์ซ แต่ในความเป็นจริง ธุรกิจด้านนี้กลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
นายสิทธิเดช ลีมัคเดช กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวโลคอล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เล่าถึงการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ชจากภาครัฐบาลที่ผ่านมาว่า จะเห็นว่ามีหลายหน่วยงานมากที่พยายามจะเข้ามาสนับสนุน จนดูเหมือนว่าการทำงานมีความซ้ำซ้อนและไม่คืบหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างเว็บกลางขึ้นมาแล้ว เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาใช้บริการฟรี โดยบางทีผู้ประกอบการก็ลืมนึกถึงคุณภาพของสินค้าและราคา
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวโลคอล อธิบายต่อว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยี เรื่องการค้าขายก้าวหน้าไปมาก แม้แต่จ่ายสตางค์ ผ่านโทรศัพท์มือถือก็ทำได้ แต่สำหรับผู้ประกอบการไทย หลายคนยังขาดความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้องในการใช้เว็บไซต์ เพื่อเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้า ภาครัฐฯควรกระตุ้น ด้วยการส่งเสริมเรื่องความรู้ หรือให้ได้ผลดีประกาศลดภาษี ให้กับรายได้ที่เกิดจากการค้า ขายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เหมือนบางประเทศก็ยิ่งดี สิ่งนี้จะเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการค้า อยากหันมาใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ชมากขึ้น จะได้ไม่ต้องเสียเวลา เสียค่าน้ำมันไปซื้อของจากร้าน ตื่นมาสั่งซื้อจากเว็บไซต์ได้เลย ยิ่งช่วงนี้น้ำมันขึ้นราคา น่าจะถือโอกาสรณรงค์กันเลย

นายสิทธิเดช กล่าวถึงนโยบายการสนับสนุนของกระทรวงไอซีที ที่จะผลักดันอีคอมเมิร์ชนั้น
        ความจริงเป็นนโยบาย 1 ใน 5 E ที่กระทรวงนี้จะสนับสนุนอยู่แล้ว เพียงแต่อยากให้ศึกษาจากผลงานที่กระทรวงอื่นส่งเสริมมาบ้าง เพื่อที่จะได้หาแนวทางใหม่ จะได้ไม่ซ้ำซ้อนกัน และควรจะเป็นแนวทางที่สอดคล้องกันกับนโยบายรวมของรัฐบาลทั้งหมด ที่สำคัญควรให้ผู้ประกอบการฯ เข้ามามีบทบาท และร่วมเป็นเจ้าของด้วยก็จะดีมาก เพื่อให้มีความรับผิดชอบร่วมกันมากขึ้น 
"ผู้ประกอบการที่จะทำอีคอมเมิร์ช ไม่ควรนั่งงอมืองอเท้า รอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล บางทีเรื่องธุรกิจของเรา เรารู้เรื่องดีที่สุด ควรต้องขวนขวาย และศึกษาหาความรู้ อย่างน้อยการเริ่มต้นด้วยการรู้จักหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การรับส่งและรู้จักใช้ประโยชน์จากอีเมล์ เป็นความรู้พื้นฐานที่ต้องทราบ เพราะการรอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล บางครั้งก็อาจมาไม่ถึง เช่นการจัดอบรมฟรีของหน่วยงานต่างๆ มีข้อจำกัดเรื่องจำนวน วันเวลา ที่ทำให้ขาดโอกาสไป ดังนั้น ไม่ควรรอ ลุยตรงไหนได้ลุยไปเลย" 
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวโลคอล กล่าวด้าน นางจรรยา มีใย เจ้าของเว็บไซต์ คอนดอมไทย ดอทคอม(http://www.condomthai.com/) หนึ่งในเว็บไซต์ยอดเยี่ยมประจำปี 2547 ของสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมายังไม่คอยได้เห็นการสนับสนุนจากภารรัฐมากนัก จะมีก็เพียงแค่การไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ที่ผู้ประกอบการก็ต้องเดินเข้าไปหาเอง ไม่ได้มีคนจากภาครัฐเดินเข้ามาแนะนำ แต่ขั้นตอนต่างๆก็ใช้เวลาไม่นาน อีกทั้งการที่ในแต่ละเรื่องราวมีเจ้าภาพหลายคน ทำให้การสนับสนุนอาจดูล่าช้าในสายตาผู้ประกอบการ ข่าวสารหรือข้อมูลจากภาครัฐก็ไม่ค่อย
        ได้รับ อย่างไรก็ตาม ช่วงหลังๆเห็นว่ามีการสนับสนุนมากขึ้นกว่าเดิม
เจ้าของเว็บไซต์ คอนดอมไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเรื่องการชำระเงินของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในขณะนี้ ลูกค้า-ผู้ประกอบการ ก็ยังไม่มีความมั่นใจในกันและกัน เท่าใดนัก เพราะจำนวนผู้ใช้บัตรเครดิต ในประเทศไทยยังมีไม่มาก 
             ที่นิยมใช้เป็นช่องทางชำระเงินหลักๆ คือ การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารพาณิชย์ ส่งพัสดุเก็บเงินปลายทางของ (พกง.) และ การส่งธนาณัติ ของบริษัท ไปรษณีย์ไทยจำกัด 
          แต่ที่ช่วยผู้ประกอบการได้มากจริงๆ คือ บริการ อี-แบงก์กิ้ง (e- Banking) ที่ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบ การชำระเงินผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ ธนาคารทหารไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารกรุงไทย จะเห็นว่าที่มาสนับสนุนอี-คอมเมิร์ซจริงๆ คือ ภาคเอกชนที่เป็นสถาบันการเงินมากกว่าภาครัฐ 
        นางจรรยา กล่าวด้วยว่า นโยบายการสนับสนุนจากรัฐบาลทั้งกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงไอซีที ถ้ารัฐบาลช่วยได้จริงก็คงไว้ใจได้ ธุรกิจนี้เราสามารถขายได้ทุกที่ ทุกเวลา แต่สำหรับคอนดอมไทยนั้น ลุยทำกันเองมาตลอดต้องล้มลุกคลุกคลานจนบางทีคิดจะเลิกทำ แต่ก็ต้องสู้ต่อ พยายามเก็บข้อมูลศึกษาตลาดใหม่ๆให้ชัดเจน จึงมุ่งเน้นเฉพาะการขายถุงยางอนามัยอย่างเดียว เพราะเป็นตลาดเฉพาะ แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น ถ้าผู้ที่สนใจอยากทำก็ทำเองไปเลยอย่ารอให้เสียเวลา ทั้งนี้ สินค้าที่นำไปขายคุณภาพก็ต้องดีด้วย สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า อย่าทำจับฉ่ายขอให้มุ่งไปด้านใดด้านหนึ่งไปเลยจะดีที่สุด

ส่วน นางสาวศิริพร ฟ้าประทานชัย ผู้ดูแลเว็บไซต์ พันทิปมาร์เก็ต ดอทคอม ให้ความเห็นว่า การสนับสนุนจากภาครัฐที่พยายามให้ความช่วยเหลือ เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ หรือการทำเครื่องหมายทรัสต์ มาร์ค (Trust Mark) แต่ในส่วนของกฎหมายยังไม่เสร็จสมบูรณ์จึงทำให้มีปัญหาเรื่องการหลอกลวง และความเชื่อถืออยู่ นอกจากนี้ ระบบโลจิสติกส์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้า ค่าขนส่งสินค้าแบบผู้จัดส่งเก็บเงินให้ทันทีที่รับสินค้า เช่น DHL ยังมีค่าใช้จ่ายสูง ร้านค้าเล็กไม่สามารถใช้บริการได้ ทำให้ต้องใช้ พกง. หรือ การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารอยู่ ทำให้ทั้งผู้ซื้อ-ผู้ขายเกิดความกลัว
      ผู้ดูแลเว็บพันทิปมาร์เก็ต กล่าวอีกว่า อยากให้ภาครัฐช่วยสนับสนุน ในเรื่องการสร้างความน่าเชื่อถือ ทำทรัสต์ มาร์คให้เสร็จเร็วๆ และทำระบบขนส่งสินค้า และพัสดุที่มีความรวดเร็ว และถูกกว่าที่ปัจจุบัน นอกจากนี้ อยากให้รัฐบาลยินยอม ให้ผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษี และใบเสร็จรับเงินแบบออนไลน์ หรือส่งผ่านอีเมล์ไปหาลูกค้า เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาด้วย ทั้งนี้ หากร้านค้าใดยังไม่มีความพร้อมที่จะดูแลเว็บไซต์ ของร้านตนเอง ก็สามารถจ้างให้บริษัทที่รับทำเข้ามาดูแลแทนได้ อีกทั้ง ยังมีตลาดกลางในการซื้อขายออนไลน์อำนวยความสะดวกให้อีกด้วย 
       ทั้งหมดนี้ เป็นมุมมองและความคิดเห็นจากผู้ประกอบการที่ใช้ และเกี่ยวข้องกับอี-คอมเมิร์ซ มาสะท้อนถึงการสนับสนุนจากภาครัฐที่วันนี้ยังเป็นแค่การเริ่มต้นที่จะสนับสนุนเท่านั้น เรื่องนี้ยังต้องมองกันอีกยาวๆ จึงจะรู้ว่าผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไรบ้างอี-คอมเมิร์ซจะเกิดขึ้นแบบเป็นรูปธรรมที่จริงจังมากน้อยเพียงใด
 

ผู้ประกอบการที่จำเป็นต้องทำมาค้าขาย หากคิดว่ากิจการแลธุรกิจมีความพร้อม สินค้าที่นำมาจำหน่ายมีคุณภาพ ก็สามารถดำเนินการไปเองก่อนเลย โดยไม่จะต้องรอการสนับสนุนจากรัฐบาล ขอแค่ทำให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดก็เพียงพอ และสิ่งที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการได้ดีกว่าภาครัฐคือ ผู้บริโภคที่เป็นกำลังซื้อหลัก ที่ต้องร่วมกันอุดหนุน หรือ เริ่มหันมาลงจับจ่ายซื้อของบนอินเทอร์เน็ตนั้นเอง?






ZMOT


ZMOT คืออะไร? คำนิยามด้านการตลาดใหม่โดย Google

“Think with Google” เป็นหนึ่งในโครงการของ Google ที่จะนำเรื่องราวในแวดวงธุรกิจออนไลน์และเทรนด์ต่างๆ มาเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกได้ศึกษากัน ไม่ว่าจะเป็นบทสัมภาษณ์ของผู้นำทางความคิด นำเสนอกรณีศึกษา หรือข้อมูลต่างๆ ที่น่าสนใจเพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในการวางแผนธุรกิจ
จริงๆ วันนี้สิ่งที่จะเล่าไม่ได้เกี่ยวกับ Think with Google หรอกค่ะ แต่เป็นหนึ่งในหัวข้อที่ ถูกนำมาเผยแพร่ในนี้มีชื่อว่า ZMOT หรือ Zero Moment of Truthคำนี้อาจไม่คุ้นหูในบ้านเราเสียเท่าไหร่นัก และหลายคนก็อาจสงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่นะ? ดังนั้นขอเล่านิยามความหมายของช่วงเวลาต่างๆ ออกมาตามประสบการณ์ของลูกค้าก่อน ดังต่อไปนี้

  • Stimulus  เป็นช่วงเวลาที่ได้เห็นโฆษณาผ่านเข้ามา

·         FMOT หรือ First Moment of Truth เป็นคำที่ถูกนิยามไว้ตั้งแต่ปี 2005 โดย Procter & Gamble (P&G) ว่าเป็นชั่วขณะที่ผู้ซื้อมีปฏิสัมพันธ์กับหน้าร้านและเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจซื้อ
·         SMOT หรือ Second Moment of Truth เป็นช่วงเวลาที่ลูกค้าซื้อสินค้าไปแล้ว และมีประสบการณ์ในการใช้งานสินค้าดังกล่าว เค้าเหล่านั้นอาจจะมาเขียนรีวิวแบ่งปันข้อมูลบนเว็บไซต์ก็เป็นได้
และจากรูปเราจะเห็นว่าช่วงเวลาที่โผล่ขึ้นมาก่อนหน้า FMOT จะถูกเรียกว่า ZMOT ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกค้าจะมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ก่อนหน้าที่จะไปถึงร้านค้าจริง อย่างการ เริ่มค้นหาข้อมูลสินค้าที่ตัวเองสนใจ เช่น การดูรีวิว, เรตติ้ง จากเว็บไซต์ และ Social Media ต่างๆ ดูวิดีโอคลิปจาก YouTube หรือแม้กระทั่งการสแกน Barcode จากโทรศัพท์แล้วเปิดอ่านรีวิวกันตรงๆ เลย แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิด ZMOT คือ การเติบโตของอินเทอร์เน็ตและเครื่องมือที่ใช้เชื่อมต่ออย่างสมาร์ทโฟนนั่นเอง (จากสถิติกว่า 79% ของชาวสหรัฐฯ กล่าวว่าพวกเขาใช้สมาร์ทโฟนในการซื้อของ)
ใครๆ ก็อยากแน่ใจก่อนว่าของที่ตัวเองซื้อเป็นของดี แหล่งที่หาข้อมูลได้ง่ายและสะดวกที่สุดย่อมไม่พ้นอินเทอร์เน็ตและนี่คือสิ่งที่ Google ต้องการชี้ให้เห็นว่ามันเป็นช่วงเวลาสำคัญ ที่นักการตลาดในยุคปัจจุบันควรให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
http://thumbsup.in.th/wp-content/uploads/2012/04/Screen-Shot-2555-04-22-at-4.49.29-AM.png


ตัวอย่างสถิติในสหรัฐฯ ปีที่ผ่านมา ZMOT เป็นช่วงเวลาที่มีอิทธิพลในหลายๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตามกลุ่มสินค้าพวกที่ต้องลองและสัมผัสโดยตรงอย่างธุรกิจสุขภาพ ความงาม FMOT จะยังมีอิทธิพลสูงกว่า, หรือสินค้าอุปโภค บริโภคทั่วไปที่เราใช้กันประจำ ZMOT จะยังไม่มีอิทธิพลสูงมากนัก ในขณะที่่ธุรกิจยานยนต์ทั้ง ZMOT และ FMOT ยังมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจทั้งคู่
ส่วนตัวผู้เขียนไม่ได้รู้สึกว่า ZMOT เป็นของใหม่ (อารมณ์แบบเหล้าเก่าในขวดใหม่) เราคุ้นชินกับมันมาสักพักแล้วค่ะ 
 แต่ไม่ได้นิยามช่วงเวลาดังกล่าวออกมาให้ชัดเจน
ซึ่งแน่นอนว่าการชี้ให้เห็นความสำคัญโดย Google ในครั้งนี้เป็นการสนับสนุนผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของ Google ที่เป็นเสมือน Marketing Tool ไปกลายๆ ตั้งแต่การตลาดผ่านเครื่องมือค้นหา (Search Engine Marketing: SEM) , ถ้าทันสมัยขึ้นมาหน่อยก็ Google+ ที่แม้จะยังเจาะกลุ่มธุรกิจไม่ได้เต็มตัวเหมือน Facebook แต่ความพยายามของ Google กับผลิตภัณฑ์ตัวนี้ยังมีให้เห็นอีกไกลแน่นอน นี่ยังไม่นับรวมถึงโครงการอื่นๆ ของ Google ที่เกี่ยวข้องกับ ZMOT ได้ทั้งนั้นอย่าง Google Offers (Group Buying) หรือ Google Goggles อ่านรีวิวสินค้าจากโทรศัพท์หลังจากสแกนสินค้าเสร็จ เป็นต้น
ในอีกด้านหนึ่งผู้เขียนก็เห็นด้วยว่า ZMOT เป็นสิ่งที่นักการตลาดที่ดูแลแม้แต่สินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับออนไลน์โดยตรงก็ควรต้องเริ่มหันมาให้ความสนใจเพราะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะถ้าจะเจาะกลุ่ม Digital Natives (เกิดและเติบโตมาพร้อมกับยุคไอที) ZMOT จะมีอิทธิพลต่อคนกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก
และแม้แบรนด์ไม่เข้าหา แต่การพูดคุยของผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ก็ยังคงดำเนินต่อไปอยู่ดีค่ะ (ไม่สามารถห้ามได้) ดังนั้นเราก็จะไม่มีทางรู้เลยว่าผู้บริโภคมองเราอย่างไร และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจกับกลุ่มลูกค้ารายใหม่ของเราอย่างไร
และอย่าได้กลัวกับรีวิวที่เป็นเชิงลบหรือถูกโจมตีจนทำให้แบรนด์ไม่กล้าเข้ามาสู่โลกออนไลน์อีกเช่นกัน เพราะจริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกแบรนด์ แต่ถ้าเรารู้วิธีในการจัดการ, สร้างความสัมพันธ์อันดีและจริงใจกับลูกค้าเสมอ จะเปลี่ยนจากวิกฤตเป็นโอกาส และซื้อใจลูกค้าได้เอง
คำถามที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ แล้วในบริษัทมีผู้ที่ดูแลประสบการณ์ลูกค้าในช่วง ZMOT แล้วหรือยัง นอกจากจะเป็นช่วงที่มีอิทธิพลต่อการขายแล้ว , ความคิดเห็น รีวิวต่างๆ ที่มาจาก  SMOT ถูกส่งต่อไปให้กับลูกค้ารายใหม่ที่ยังอยู่ในช่วง ZMOT จะมีประโยชน์กับแบรนด์ในแง่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไปอีกด้วย
ปิดท้ายกันด้วยตัวอย่างบทความการวางแผนธุรกิจในแต่ละช่วง (สำหรับตัวอย่างนี้เป็นธุรกิจยานยนต์) โดยแยกออกมาเลยว่าช่วง ZMOT, FMOT, SMOT ธุรกิจควรต้องปรับปรุงอะไรบ้าง และเมื่อเรามีหัวข้อตั้งต้นแล้วก็นำแผนกลยุทธ์นี้ไปแตกเป็นประเด็นเพื่อทำงานตามแผนกันต่อไป





วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ฟังบรรยายเรื่อง "Online Business with Google"

1.สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการรับฟัง ลงใน Web Blog ของ น.ศ.

ระบบสังคมออนไลน์ต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการระหว่างกันในการเลือกสินค้าและบริการ 
ZMOD ย่อมาจาก Zero Moment of Truth จุดก่อนกำเนิดของกระบวนการคิดและกระบวนการซื้อสินค้า

ผู้ดำเนินธุรกิจต้องประยุกต์มาใช้ดิจิตอล 3.0 ที่สามารถค้นเจอบนหน้าของการค้นหาของ Google ได้ ซึ่งการค้นหาพบได้นั้นจะต้องมีปัจจัยประกอบดัง
1 Get your business online 
2. Be found – when customer is searching
3 Be reached – show where you are
4 Get closer to your customers 
5. Increase your performance
6. Engage your customer anywhere anytime
7. Go Global (AEC)
2.หาคำศัพท์ที่ได้จากการรับฟังพร้อมหาความหมายเพื่ออธิบายคำศัพท์ดังกล่าว อย่างน้อย 20 คำ


1.Google map หมายถึง บริการเกี่ยวกับแผนที่ ผ่านเว็บบราวเซอร์ ของ Google
2.Google+ หรือ Google plus หมายถึงโครงการของ Google ที่มีความพยายามมานานหลังจากมีการออกมายอมรับก่อนหน้านั้นว่า Google ขยับตัวช้าไปในเรื่องนี้แถมยังมีข้อเสนอพิเศษให้กับพนักงานที่สามารถคิดโครงการ Social Networks ให้ออกมาประสบความสำเร็จอีกด้วย
3.Google street view หมายถึง ฟีเจอร์หนึ่งของ google map ทำให้เห็นภาพในมุมมอง 360 องศาจากบริเวณนั้นจริงๆ
4.Google Hangouts หมายถึง ฟีเจอร์หนึ่งของ Google plus เพราะมันจะช่วยให้เราสามารถประชุมหรือคุยกับเพื่อนพร้อมๆกันได้ถึง 10 คนในเวลาเดียวกัน ทำให้เราสามารถประชุมออนไลน์ได้ด้วย
5. Off line หมายถึง การตัดการเชื่อมต่อจากอินเตอร์เน็ต
6. Google Analytics หมายถึง การจะแสดงให้คุณทราบว่าผู้เข้าชมพบเว็บไซต์ของคุณอย่างไร และใช้งานเว็บไซต์ของคุณอย่างไร
7.realtime หมายถึง เวลาจริง ซึ่งหมายถึงสิ่งที่คอมพิวเตอร์คำนวณและสิ่งที่เราเห็นเป็นสิ่งเดียวกัน
8.mobile size หมายถึง ขนาดของหน้าเว็บไซต์ที่เป็นที่พอดีกับหน้าจอมือถือ
9.URL หมายถึง Uniform Resource Locator หมายถึง ตัวบ่งบอกข้อมูล หรือ ที่อยู่ (Address) ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต
10. Google Translate หมายถึง โปรแกรมแปลภาษาโดย Google
11.AEC หมายถึง ย่อมาจาก ASEAN Economic Community หรือประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน เป็นเป้าหมายสำหรับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสมาคมประชาชาติ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
12.so lo mo หมายถึง so ย่อมาจาก Social เป็นสังคมออนไลน์, Lo ย่อมาจากคำว่า Location แปลว่า สถานที่ สถานที่ในที่นี้หมายถึงอะไร หมายถึง Google Map ,Mo ย่อมาจากคำว่า Mobile ในที่นี้ไม่ใช่แค่โทรศัพท์มือถือธรรมดา แต่เป็น SmartPhone
13. Global หมายถึง ทั่วโลก,ทั้งโลก
14.truth หมายถึง ความจริง, ความซื่อสัตย์
15.Google AdWords หมายถึง โฆษณาในรูปแบบ pay per click
16.natural result หมายถึง ผลการค้นหาตามปกติ
17.page rank หมายถึง เป็นมาตรฐานการวัดคุณค่าของเว็บ
18.search engine optimization หมายถึง การทำให้เว็บไซต์ติดอยู่ในอันดับต้นๆของหน้าเว็บไซต์ Google
19.web master หมายถึง ผู้ที่ดูแลเว็บไซต์เป็นเหมือนผู้บริหารเว็บไซต์นั้น ๆ โดยทำหน้าที่คอยดูแล แก้ไขปัญหา ควบคุมทิศทาง กำหนดทิศทางของเว็บไซต์นั้น ๆ ว่าจะออกมาในรูปแบบไหน มีลักษณะอย่างไร ตั้งแต่เนื้อหาภายในเว็บ ตลอดจนถึงหน้าตาของเว็บเพจแต่ละหน้า
20.Google map หมายถึง บริการเกี่ยวกับแผนที่ ผ่านเว็บบราวเซอร์ ของ Google

การทำธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิทัล 3.0

1.สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการรับฟัง ลงใน Web Blog ของนักศึกษา
สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการรับฟังการบรรยายเรื่อง "การทำธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิทัล 3.0"
Social ในที่นี้หมายถึง สังคมออนไลน์
Media ในที่นี้หมายถึง เนื้อหา เรื่องราว และบทความ
Social Media จึงหมายถึงสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางเว็บไซต์ Social Network ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ ปัจจุบัน การสื่อสารแบบนี้ จะทำผ่านทาง Internet และโทรศัพท์มือถือเท่านั้น เนื้อหาของ Social Media โดยทั่วไปเปรียบได้หลายรูปแบบ ทั้ง กระดานความคิดเห็น (Discussion boards), เว็บบล็อก (Weblogs), วิกิ (wikis), Podcasts, รูปภาพ และวิดีโอ ส่วนเทคโนโลยีที่รองรับเนื้อหาเหล่านี้ก็รวมถึง เว็บบล็อก (Weblogs), เว็บไซต์แชร์รูปภาพ, เว็บไซต์แชร์วิดีโอ, เว็บบอร์ด, อีเมล์, เว็บไซต์แชร์เพลง, Instant Messaging, Tool ที่ให้บริการ Voice over IP เป็นต้น

Social โลกแห่งสังคมออนไลน์ การติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนความรู้ ที่จะนำมาใช้สร้างสินค้าใหม่นั้นมี ด้วยกัน 4 ประเภท 
1.OWNED media เป็น สื่อที่ผู้ประกอบการเองเป็นเจ้าของ ได้แก่ เว็บไซต์ บล็อก ซึ้งเป็นสื่อที่สร้างขึ้นมาเอง 
2.PAID Media เป็นสื่อที่เราต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อ เช่น แบรนดเนอ สปอนเซอร์ ชิฟ 
3.EARNED Media เป็นสื่อที่ลูกค้า ผู้บริโภคทั่วไปเป็นเจ้าของ เช่น เฟชบุ๊ค,ทวิชเตอร์ เป็นการแบ่งปันข้อมูลพูดคุยระหว่างกัน 
4.Social media เป็นการสร้างสังคมเข้าหาลูกค้า ให้ลูกค้าได้มาพูดคุยกับเรา เพื่อหาข้อมูลความคิดเห็น แทนที่จะปล่อยให้ผู้บริโภคพูดถึงเราโดยที่เราไม่ส่วนร่วมรับรู้ด้วย ให้เราลุกขึ้นมาสังคมกับลูกค้าและตลาด ต้องสร้างตัวของสินค้าเราให้ลูกค้ามองเราในแง่ดีให้ได้
Social media มันถูกสร้างขึ้นมาภายใต้การพูดหรือการสื่อสารปากต่อปาก โดยปัจจุบันทำได้ได้อย่างรวดเร็วโดยผ่านทางโลกสังคมออนไลน์ต่างๆ ได้อย่างทันที ซึ่งเรื่องนี้มีบทบาททางด้านการตลาด ผู้บริโภคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปโดยการที่จะสร้างแบรนสินค้าขึ้นมาใหม่จำเป็นที่จะต้องรู้ถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. Globalization Interdependence การเปลี่ยนไปในเรื่องความคิด คิดว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีสิทธิออกความเห็นโต้แย้ง ไม่เห็นด้วยได้ มีอิสระในความคิดและตัดสินใจ 
2. Control of Media Customer is publisher ผู้บริโภควันนี้มีความเชี่ยวชาญในด้านความคิดเห็นต่อสินค้า อยากออกแบบสินค้าเห็นแบบที่ตนต้องการ ซึ่งต่างจากเมื่อก่อนที่รอดูข้อมูลสินค้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งผู้บริโภควันนี้มีการแบ่งปันข้อคิดเห็นของตนแก่สาธารณะได้อย่างรวดเร็ว
3. Conversations generate exposure sales การพูดคุยโต้ตอบระหว่างลูกค้าเพื่อที่จะสามารถขายสินค้านั้นได้ เราต้องมีการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ ที่มีเหตุผล น่าสนใจให้ได้จึงจะสามารถทำให้ลูกค้าพึงพอใจและเกิดการตกลง
4. Transparency – open source ปัจจุบันเป็นยุคที่ทุกอย่างเปิดกว้าง ความโปร่งใส จริงใจนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อสร้างความเชื่อมมั่น เรื่องการให้เครดิตต่างๆ ของผู้มีส่วนช่วยก็นับว่าเป็นส่วนสำคัญในการสร้างแบรนสินค้าใหม่
5. Collaboration rules การอาศัยความร่วมมือของผู้บริโภค 
6.People use technologies to get thing that they need from each, other rather from corporations ผู้บริโภคจะอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ ในการแสวงหาข้อมูล สินค้า เพื่อตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งเขาจะข้อมูลจากการพูดเล่าของผู้บริโภคด้วยกันก่อนเสมอ ผู้บริโภคจะไม่เชื่อจากผู้ผลิตทั้งหมดก่อน เขาจะมองเห็นเป็นการโฆษณา ซึ่งเขาจะเชื่อจากผู้บริโภคที่คุยบอกกันเองมากกว่า
ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้ "โซเชียล มีเดีย" มีการเติบโตอย่างมากในทั่วโลก เห็นได้จากผู้ใช้เฟซบุ๊คที่มีจำนวน 800-900 ล้านคน หากเปรียบเทียบเป็นประชากรของประเทศ ก็อยู่ในอันดับ 3 ของโลก ดังนั้นการนำ Content ส่งต่อไปยังผู้บริโภค จะต้องมี Distribution Channel ที่ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละกลุ่ม โดยเฟซบุ๊ค ยังถือเป็นช่องทางการสื่อสารในโลกโซเชียล มีเดีย ที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้จำนวนมหาศาล ผ่านพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ที่มีการเชื่อมโยงกับกลุ่มเพื่อน และการแชร์ เช่นเดียวกับ ทวิตเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานทั่วโลกไม่น้อยกว่า 500 ล้านคน, ยูทูบ กว่า 800 ล้านคน และล่าสุดที่กำลังมาแรง อินสตาแกรม จำนวน 40 ล้านคน กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ในยุคดิจิทัล สิ่งที่แบรนด์ต้องทำ คือ การสร้างคอมมูนิตี้ ในโลกดิจิทัล ออนไลน์ เพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้บริโภค ได้พูดคุยและสื่อสารกับแบรนด์โดยตรง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารและโฆษณาจากเดิมที่แบรนด์เป็น "ผู้พูด" ถูกปรับเปลี่ยนเป็นให้ผู้บริโภคเป็น "ผู้พูดและบอกต่อ" แทน ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว นอกจากนี้ความท้าทายของการสร้างแบรนด์ในยุคดิจิทัล นั่นคือแบรนด์ จะต้องสร้างประสบการณ์ร่วม ให้เกิดขึ้นกับลูกค้า เพื่อทำให้เกิดจินตนาการถึงแบรนด์นั้นๆ และหากเป็นประสบการณ์ที่เข้าใจได้ง่าย และนำมาเล่าผ่านคอมมูนิตี้ ออนไลน์ ที่แบรนด์สร้างไว้ให้ ถือว่าประสบความสำเร็จ" การสร้างแบรนด์ให้คนจดจำ ภายใต้ "ประสบการณ์ร่วม" ที่แบรนด์ต้องการสื่อสาร ซึ่งในอดีตมักจะใช้สื่อแมสเป็นเครื่องมือ แต่ปัจจุบันโซเชียล มีเดียได้กลายเป็นเครื่องมือ ช่วยเล่าขาน สร้างภาพ และบอกต่อแบรนด์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและง่ายขึ้นมาก หรือเปลี่ยนจาก One Way Communication เป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟระหว่างแบรนด์ ผู้บริโภค และชุมชนออนไลน์
การให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ สร้างให้แบรนด์โดดเด่นและถูกเลือกบริโภค มีเดียและโซเซียลมีเดีย ที่เกิดขึ้นจำนวนมาก พฤติกรรมผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ ที่มีการใช้งาน "สมาร์ท ดีไวซ์" อยู่ตลอดเวลา ถือเป็น "โอกาส" ที่แบรนด์ต่างๆ ต้องปรับทิศทางการสื่อสารและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้า 

2.หาคำศัพท์ที่ได้จากการรับฟังพร้อมหาความหมาย เพื่ออธิบายคำศัพท์ดังกล่าว อย่างน้อย 20 คำ แล้วสรุปใน Web Blogs
คำศัพท์
1.Social Network คือ การที่ผู้คนสามารถทำความรู้จัก และเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็น เว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง
2.Social Media จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พูดง่ายๆ ก็คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้นั่นเอง
• Hi5
• Fraudster
• My Space
• Face Book
• Orkut
• Bebo
• Tagged
3.Banner ป้ายโฆษณาสินค้าหรือบริการต่างๆ ที่สามารถนำไปแสดงผ่านหน้าเว็บไซต์ โดยภายในจะมีเนื้อหา รูปภาพแสดงสินค้าหรือบริการอยู่ และ อาจจะเพิ่มสีสันด้วยการกระพริบ-เคลื่อนไหวของป้ายแบนเนอร์ เพื่อให้ผู้ใช้ internet 
4.Co-Creation กลยุทธ์ทางการตลาดที่เน้นการปฏิสัมพันธ์(Interaction) เน้นการติดต่อสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนความคิด ความต้องการความคิดเห็นระหว่างกัน ความร่วมมือนี้อาจเกิดระหว่างธุรกิจกับผู้ริโภคหรือธุรกิจกับธุรกิจ 
5.Owned media เป็น สื่อที่ผู้ประกอบการเองเป็นเจ้าของ ได้แก่ เว็บไซต์ บล็อก ซึ่งเป็นสื่อที่สร้างขึ้นมาเอง
6.Awareness องค์ความรู้ และทัศนคติของสมาชิกทุกคนในองค์กรที่พึงมี เกี่ยวกับการป้องกันรักษาทรัพย์สินของบริษัทฯทั้งทางด้านกายภาพ
7.People use technologies to get thing that they need from each, other rather from corporations 
ผู้บริโภคจะอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ ในการแสวงหาข้อมูล สินค้า เพื่อตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งเขาจะข้อมูลจากการพูดเล่าของผู้บริโภคด้วยกันก่อนเสมอ ผู้บริโภคจะไม่เชื่อจากผู้ผลิตทั้งหมดก่อน เขาจะมองเห็นเป็นการโฆษณา ซึ่งเขาจะเชื่อจากผู้บริโภคที่คุยบอกกันเองมากกว่า
8.Paid Media เป็นสื่อที่เราต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อ เช่น แบรนดเนอ สปอนเซอร์ ชิฟ 
9.Buzz marketing การสร้างสินค้าหรือบริการให้เป็นที่รู้จัและเกิดความต้องการในลักษณะของ”การบอกต่อแบบปากต่อปาก” ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์การสื่อสารที่มีพลังขับเคลื่อนสูงมากต่อการสร้างความเชื่อถือและกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อ
10.mindset กระบวนการทางความคิด การปรับทัศนคติ การปรับความชอบหรือนิสัยหรือการจัดลำดับความคิดของตัวเอง
11.Conversation คือ การสนทนาซึ่งต้องมีการโต้ตอบ
12.Knowledge Sharing การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การที่กลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกันมารวมตัวกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยความสมัครใจ เพื่อร่วมสร้างความเข้าใจหรือพัฒนาแนวปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ
13.Reviewer คือนักวิจารณ์สะท้อนกลับถึงข้อมูลสินค้าและบริการให้กับธุรกิจ
14.CRM กระบวนการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
15.Viral Marketing การตลาดแบบไวรัส เทคนิคการทำการตลาดที่ใช้สื่อ Social Networks ที่มีอยู่แล้ว เช่น facebook, hi5, และอีกมากมายนับไม่ถ้วน ในการทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น หรือ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดด้านอื่นด้วย
16.community marketing การจัดตั้งกลุ่มของลูกค้าที่เข้ามาเป็นตัวแทนของลูกค้าทั้งหมด และให้เข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆ กับกิจการ จนกระทั่งในที่สุดกลุ่มนี้จะกลายเป็นลูกค้าระดับเกรดเอที่การซื้อสินค้าบริการกับลูกค้า ติดหนึบไม่ไปไหน รวมถึงเป็นตัว
17.Control of Media คือ การควบคุมจัดการสื่อ
18.Publisher การเป็นผู้นำเสนอข้อมูล ป่าวประกาศ 
19.Reration ship คือ การสร้างความสัมพันธ์ 
20.Credit คือการนำข้อมูลของผู้อื่นไปใช้ ทั้งภาพรูป เสียง สมควรที่จะมีการอ้างถึง