วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สาเหตุใดที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จ เท่าที่ควร


1.    สาเหตุใดที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จ
      เท่าที่ควร




จากรายงานของ "UNCTAD" หรือ "UNITED NATIONS CONFERENCE ON TRADE AND DEVELOPMENT" ที่เป็นหน่วยงานด้านการค้า และการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ ระบุว่า ในปี 2545 มูลค่าของ "ธุรกิจพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์" หรือ "อี-คอมเมิร์ซ (e-Commerce)" ทั่วโลก มีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 88 ล้านล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 38.5 บาท/ดอลลาร์) ส่วนในปี 2549 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 494 ล้านล้านบาท 
            ส่วนประเทศไทย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ในปี 2546 ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซทั้งระบบมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 60,000,000,000 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าธุรกิจอี-คอมเมิร์ซได้สร้างมูลค่าเพิ่ม ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศต่างๆ และประเทศไทยเป็นมูลค่าที่สูงมาก อย่างไรก็ตาม ตัวเลขทางเศรษฐกิจจากธุรกิจอี-คอมเมิร์ซดังกล่าว ไม่ใช่ดัชนีชี้วัดว่า ณ วันนี้ ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจอี-คอมเมิร์ซแล้วแต่อย่างใด
จากการแถลงนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)ว่ากระทรวงไอซีทีจะส่งเสริม และให้การสนับสนุน การทำธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ หรือ อี-คอมเมิร์ซเต็มที่ เพราะเป็นบริการที่สามารถลดเวลา ลดค่าใช้จ่ายและทำให้การค้าขายมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ ซิป้า ได้จัดตั้งตลาดกลางอิเล็คทรอนิกส์ หรือ อี-มาร์เก็ตเพลส ขึ้นแล้ว โดยในระยะแรก อาจจะเปิดให้ทำธุรกรรมต่างๆ ฟรี 
คำถามที่เกิดขึ้น คือ การผลักดันอี-คอมเมิร์ซที่ว่ามา จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และไปในทิศทางใด และรูปแบบไหน เนื่องจากระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ภาครัฐมีการพูดถึงการผลักดันและพัฒนาตลาดอี-คอมเมิร์ซ แต่ในความเป็นจริง ธุรกิจด้านนี้กลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
นายสิทธิเดช ลีมัคเดช กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวโลคอล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เล่าถึงการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ชจากภาครัฐบาลที่ผ่านมาว่า จะเห็นว่ามีหลายหน่วยงานมากที่พยายามจะเข้ามาสนับสนุน จนดูเหมือนว่าการทำงานมีความซ้ำซ้อนและไม่คืบหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างเว็บกลางขึ้นมาแล้ว เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาใช้บริการฟรี โดยบางทีผู้ประกอบการก็ลืมนึกถึงคุณภาพของสินค้าและราคา
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวโลคอล อธิบายต่อว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยี เรื่องการค้าขายก้าวหน้าไปมาก แม้แต่จ่ายสตางค์ ผ่านโทรศัพท์มือถือก็ทำได้ แต่สำหรับผู้ประกอบการไทย หลายคนยังขาดความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้องในการใช้เว็บไซต์ เพื่อเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้า ภาครัฐฯควรกระตุ้น ด้วยการส่งเสริมเรื่องความรู้ หรือให้ได้ผลดีประกาศลดภาษี ให้กับรายได้ที่เกิดจากการค้า ขายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เหมือนบางประเทศก็ยิ่งดี สิ่งนี้จะเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการค้า อยากหันมาใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ชมากขึ้น จะได้ไม่ต้องเสียเวลา เสียค่าน้ำมันไปซื้อของจากร้าน ตื่นมาสั่งซื้อจากเว็บไซต์ได้เลย ยิ่งช่วงนี้น้ำมันขึ้นราคา น่าจะถือโอกาสรณรงค์กันเลย

นายสิทธิเดช กล่าวถึงนโยบายการสนับสนุนของกระทรวงไอซีที ที่จะผลักดันอีคอมเมิร์ชนั้น
        ความจริงเป็นนโยบาย 1 ใน 5 E ที่กระทรวงนี้จะสนับสนุนอยู่แล้ว เพียงแต่อยากให้ศึกษาจากผลงานที่กระทรวงอื่นส่งเสริมมาบ้าง เพื่อที่จะได้หาแนวทางใหม่ จะได้ไม่ซ้ำซ้อนกัน และควรจะเป็นแนวทางที่สอดคล้องกันกับนโยบายรวมของรัฐบาลทั้งหมด ที่สำคัญควรให้ผู้ประกอบการฯ เข้ามามีบทบาท และร่วมเป็นเจ้าของด้วยก็จะดีมาก เพื่อให้มีความรับผิดชอบร่วมกันมากขึ้น 
"ผู้ประกอบการที่จะทำอีคอมเมิร์ช ไม่ควรนั่งงอมืองอเท้า รอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล บางทีเรื่องธุรกิจของเรา เรารู้เรื่องดีที่สุด ควรต้องขวนขวาย และศึกษาหาความรู้ อย่างน้อยการเริ่มต้นด้วยการรู้จักหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การรับส่งและรู้จักใช้ประโยชน์จากอีเมล์ เป็นความรู้พื้นฐานที่ต้องทราบ เพราะการรอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล บางครั้งก็อาจมาไม่ถึง เช่นการจัดอบรมฟรีของหน่วยงานต่างๆ มีข้อจำกัดเรื่องจำนวน วันเวลา ที่ทำให้ขาดโอกาสไป ดังนั้น ไม่ควรรอ ลุยตรงไหนได้ลุยไปเลย" 
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวโลคอล กล่าวด้าน นางจรรยา มีใย เจ้าของเว็บไซต์ คอนดอมไทย ดอทคอม(http://www.condomthai.com/) หนึ่งในเว็บไซต์ยอดเยี่ยมประจำปี 2547 ของสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมายังไม่คอยได้เห็นการสนับสนุนจากภารรัฐมากนัก จะมีก็เพียงแค่การไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ที่ผู้ประกอบการก็ต้องเดินเข้าไปหาเอง ไม่ได้มีคนจากภาครัฐเดินเข้ามาแนะนำ แต่ขั้นตอนต่างๆก็ใช้เวลาไม่นาน อีกทั้งการที่ในแต่ละเรื่องราวมีเจ้าภาพหลายคน ทำให้การสนับสนุนอาจดูล่าช้าในสายตาผู้ประกอบการ ข่าวสารหรือข้อมูลจากภาครัฐก็ไม่ค่อย
        ได้รับ อย่างไรก็ตาม ช่วงหลังๆเห็นว่ามีการสนับสนุนมากขึ้นกว่าเดิม
เจ้าของเว็บไซต์ คอนดอมไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเรื่องการชำระเงินของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในขณะนี้ ลูกค้า-ผู้ประกอบการ ก็ยังไม่มีความมั่นใจในกันและกัน เท่าใดนัก เพราะจำนวนผู้ใช้บัตรเครดิต ในประเทศไทยยังมีไม่มาก 
             ที่นิยมใช้เป็นช่องทางชำระเงินหลักๆ คือ การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารพาณิชย์ ส่งพัสดุเก็บเงินปลายทางของ (พกง.) และ การส่งธนาณัติ ของบริษัท ไปรษณีย์ไทยจำกัด 
          แต่ที่ช่วยผู้ประกอบการได้มากจริงๆ คือ บริการ อี-แบงก์กิ้ง (e- Banking) ที่ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบ การชำระเงินผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ ธนาคารทหารไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารกรุงไทย จะเห็นว่าที่มาสนับสนุนอี-คอมเมิร์ซจริงๆ คือ ภาคเอกชนที่เป็นสถาบันการเงินมากกว่าภาครัฐ 
        นางจรรยา กล่าวด้วยว่า นโยบายการสนับสนุนจากรัฐบาลทั้งกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงไอซีที ถ้ารัฐบาลช่วยได้จริงก็คงไว้ใจได้ ธุรกิจนี้เราสามารถขายได้ทุกที่ ทุกเวลา แต่สำหรับคอนดอมไทยนั้น ลุยทำกันเองมาตลอดต้องล้มลุกคลุกคลานจนบางทีคิดจะเลิกทำ แต่ก็ต้องสู้ต่อ พยายามเก็บข้อมูลศึกษาตลาดใหม่ๆให้ชัดเจน จึงมุ่งเน้นเฉพาะการขายถุงยางอนามัยอย่างเดียว เพราะเป็นตลาดเฉพาะ แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น ถ้าผู้ที่สนใจอยากทำก็ทำเองไปเลยอย่ารอให้เสียเวลา ทั้งนี้ สินค้าที่นำไปขายคุณภาพก็ต้องดีด้วย สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า อย่าทำจับฉ่ายขอให้มุ่งไปด้านใดด้านหนึ่งไปเลยจะดีที่สุด

ส่วน นางสาวศิริพร ฟ้าประทานชัย ผู้ดูแลเว็บไซต์ พันทิปมาร์เก็ต ดอทคอม ให้ความเห็นว่า การสนับสนุนจากภาครัฐที่พยายามให้ความช่วยเหลือ เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ หรือการทำเครื่องหมายทรัสต์ มาร์ค (Trust Mark) แต่ในส่วนของกฎหมายยังไม่เสร็จสมบูรณ์จึงทำให้มีปัญหาเรื่องการหลอกลวง และความเชื่อถืออยู่ นอกจากนี้ ระบบโลจิสติกส์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้า ค่าขนส่งสินค้าแบบผู้จัดส่งเก็บเงินให้ทันทีที่รับสินค้า เช่น DHL ยังมีค่าใช้จ่ายสูง ร้านค้าเล็กไม่สามารถใช้บริการได้ ทำให้ต้องใช้ พกง. หรือ การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารอยู่ ทำให้ทั้งผู้ซื้อ-ผู้ขายเกิดความกลัว
      ผู้ดูแลเว็บพันทิปมาร์เก็ต กล่าวอีกว่า อยากให้ภาครัฐช่วยสนับสนุน ในเรื่องการสร้างความน่าเชื่อถือ ทำทรัสต์ มาร์คให้เสร็จเร็วๆ และทำระบบขนส่งสินค้า และพัสดุที่มีความรวดเร็ว และถูกกว่าที่ปัจจุบัน นอกจากนี้ อยากให้รัฐบาลยินยอม ให้ผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษี และใบเสร็จรับเงินแบบออนไลน์ หรือส่งผ่านอีเมล์ไปหาลูกค้า เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาด้วย ทั้งนี้ หากร้านค้าใดยังไม่มีความพร้อมที่จะดูแลเว็บไซต์ ของร้านตนเอง ก็สามารถจ้างให้บริษัทที่รับทำเข้ามาดูแลแทนได้ อีกทั้ง ยังมีตลาดกลางในการซื้อขายออนไลน์อำนวยความสะดวกให้อีกด้วย 
       ทั้งหมดนี้ เป็นมุมมองและความคิดเห็นจากผู้ประกอบการที่ใช้ และเกี่ยวข้องกับอี-คอมเมิร์ซ มาสะท้อนถึงการสนับสนุนจากภาครัฐที่วันนี้ยังเป็นแค่การเริ่มต้นที่จะสนับสนุนเท่านั้น เรื่องนี้ยังต้องมองกันอีกยาวๆ จึงจะรู้ว่าผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไรบ้างอี-คอมเมิร์ซจะเกิดขึ้นแบบเป็นรูปธรรมที่จริงจังมากน้อยเพียงใด
 

ผู้ประกอบการที่จำเป็นต้องทำมาค้าขาย หากคิดว่ากิจการแลธุรกิจมีความพร้อม สินค้าที่นำมาจำหน่ายมีคุณภาพ ก็สามารถดำเนินการไปเองก่อนเลย โดยไม่จะต้องรอการสนับสนุนจากรัฐบาล ขอแค่ทำให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดก็เพียงพอ และสิ่งที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการได้ดีกว่าภาครัฐคือ ผู้บริโภคที่เป็นกำลังซื้อหลัก ที่ต้องร่วมกันอุดหนุน หรือ เริ่มหันมาลงจับจ่ายซื้อของบนอินเทอร์เน็ตนั้นเอง?






9 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาดีนะคับ แต่เอาแบบเป็นมุมมองของตัวเองนะครับ

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาเยอะ แต่ไม่ได้บอกมาเป็นข้อทำให้เข้าใจยาก อ่านยาก

    ตอบลบ
  3. ถ้าอยากทำธุรกิจ E-commerce ให้ประสบความสำเร็จควรทำธุรกิจอะไรอะคะ ?
    http://businessthanya.wordpress.com/2012/08/10

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาเยอะดีค่ะ แต่อยากได้ตามความเข้าใจค่ะ

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาใช้ได้ครับ อ่านแล้วมีสาระครับเข้าใจง่ายถึงเนื้อเรื่องครับ

    ตอบลบ
  6. เนื้อหาดีครับ ได้ความรุ้เพิ่มเติมด้วย

    ตอบลบ
  7. เนื้อหาเยอะดีค่ะ ตัวอักษรใหญ่อ่านเห็นชัดดค่ะ

    ตอบลบ
  8. เนื้อหาใช้ได้เลยค่ะ แต่สีตัวอักษรน่าจะใช้โทนเดียวกันน่าจะเหมาะกว่านะค่ะ

    ตอบลบ
  9. เนื้อหาดีค่ะ อ่านเข้าใจดีค่ะ

    ตอบลบ